Scenic Marathon – Run on Good View Road.

PHONE:          66 61010-4665

E-MAIL:           info@raceup.co.th

ADDRESS:      Bangkok, Thailand

หมูดุดอยู่ที่ไหน

หมูดุดอยู่ที่ไหน

จากรายงานสถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2550 – 2554 สามารถสรุปภาพรวมสถานสถานภาพพะยูนในประเทศไทย ได้ดังนี้

บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก พบพะยูนมีจำนวนรวม 14-21 ตัว บริเวณหาดไม้รูดและ เกาะกูด จังหวัดตราด และปากน้ำประแส จังหวัดระยอง และจันทบุรี มีจำนวนประชากรพะยูนคงที่ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนพบพะยูนจำนวน 4-6 ตัว บริเวณอ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ในขณะที่บริเวณอ่าวไทยตอนกลางพบพะยูนบริเวณอ่าวทุ่งคา-สวี จังหวัดชุมพร จำนวน 2-3 ตัว และบริเวณอ่าวพุมเรียง อำเภอไชยา เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ่าวดอนสัก) และนครศรีธรรมราช (อ่าวขนอม) จำนวน 20-30 ตัว และบริเวณอ่าวไทยตอนล่างพบพะยูนบริเวณอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวน 1-2 ตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของประชากรพะยูนในพื้นที่

บริเวณทะเลอันดามันตอนบน พบพะยูนบริเวณหาดทรายดำ จังหวัดระนอง จำนวน 10-15 ตัว เกาะพระทอง เกาะยาว อ่าวพังงา จังหวัดพังงา จำนวน 20-25 ตัว และบริเวณอ่าวปากคลอก อ่าวตังเข็น และอ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 3-5 ตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของประชากรพะยูนในพื้นที่ ส่วนในบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างพบพะยูนแพร่กระจายบริเวณเกาะปู เกาะศรีบอยา จังหวัดกระบี่จำนวน 15-20 ตัว บริเวณอ่าวเจ้าไหม เกาะมุกต์ เกาะลิบง เกาะสุกร จังหวัดตรัง จำนวน 135-150 ตัว และบริเวณเกาะลิดี เกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล จำนวน 5-10 ตัว

การอนุรักษ์และการจัดการพะยูน

“การอนุรักษ์พะยูน” พะยูนได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติในปี พ.ศ.2535 ด้วยสถานการณ์ใกล้สูญพันธุ์ของพะยูนทำให้พะยูนได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ปัจจุบันได้มีสำรวจประชากรของพะยูนทางอากาศ ตลอดจนพฤติกรรมต่างๆ ของพะยูน รวมถึงนิเวศวิทยาของหญ้าทะเล และออกพระราชบัญญัติอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านและแหล่งอาหารของพะยูนเพื่อเป็นแนวทางการจัดการและอนุรักษ์พะยูนอย่างยั่งยืน

การใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเดียวย่อมไม่เกิดผลสำเร็จในการอนุรักษ์พะยูน สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่ไปกับกฎหมายคือ การสร้างให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ เรื่องพะยูนและหญ้าทะเลแก่ประชาชนทั่วไป โดยเน้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเลที่มีวิถีชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับพะยูนมากที่สุด ชุมชนใดมีความเข้มแข็งพอ พะยูนและหญ้าทะเลก็อยู่ได้ แนวทางการอนุรักษ์พะยูนในประเทศไทยควรจะครอบคลุมประเด็น ดังนี้

การจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พะยูนในประเทศไทย

  • การให้การศึกษาและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของพะยูนกับระบบนิเวศหญ้าทะเลให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพะยูนและหญ้าทะเล
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และช่วยอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลตามแนวทางที่ถูกต้องโดยมีส่วนราชการหรือองค์กรอิสระอื่นๆ เป็นที่ปรึกษาและให้ข้อมูลทางด้านวิชาการ
  • สำรวจ และวิจัยชีววิทยาประชากรพะยูนและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูพะยูน
  • ป้องกันการทำการประมงที่ผิดกฎหมายหรือใช้เครื่องมือที่เป็นภัยคุกคามต่อพะยูน
  • รณรงค์การดูแลความสะอาดชายฝั่งและเข้มงวดการทิ้งขยะและของเสียลงสู่ทะเล
  • ติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง
  • สร้างศูนย์ช่วยเหลือและพยาบาลสัตว์ทะเล เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยปฏิบัติการช่วยเหลือ พร้อมอุปกรณ์การปฏิบัติงาน
  • คุ้มครองป้องกันและเฝ้าระวังการลักลอบจับและการขนย้ายพะยูน
  • จัดระเบียบการท่องเที่ยวและส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวในแหล่งสัตว์ทะเลหายากอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
  • จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์พะยู
  • จัดทำแผนบริหารจัดการแหล่งอาศัยของพะยูนเชิงพื้นที่ให้เหมาะสมและยั่งยืน